ข้อมูลเพิ่่มเติม

ข้อมูลและประวัติของประเทศลาว

 
laos-flag2

ประเทศลาว

ชื่อทางการ             : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ตัวย่อ: สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic)
เมืองหลวง              : เวียงจันทร์ (Vientiane)
ศาสนาประจำชาติ   : ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกจำปาลาว (Champa) หรือดอกลีลาวดี
วันชาติ                  : 2 ธันวาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ภาษาประจำชาติ     : ภาษาลาว
ภาษาราชการ         : ภาษาลาว

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ปราสาทวัดพู 1
ลาวมีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร
“ภูมิประเทศ”
p18460s2i21jooq4e1chd1uko1l595
ไม่มีทางออกสู่ทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น
ทิศเหนือ ติดกับจีน
ทิศตะวันตก ติดกับไทย
ทิศใต้ ติดกับกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับพม่า
“ภูมิอากาศ”
13
แบบเขตร้อน คล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
ประชากร
14
มีจำนวนประชากรประมาณ 6 ล้านคน ประกอบด้วย 68 ชนเผ่า ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มชนชาติ คือ ลาวลุ่ม ลาวเทิง และลาวสูงการเมืองการปกครอง
มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยพรรคการเมืองเดียว คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมี “ประธานประเทศ” (ประธานาธิบดี) เป็นประมุข

เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ

Phukae110
ภาวะเศรษฐกิจของลาวมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่เปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อ พ.ศ.2529 ลาวมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยมีผืนป่าและพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่รวมทั้งมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว เหล็ก ถ่านหิน อัญมณี และน้ำมัน ไปจนถึงมีเหมืองแร่ทองคำ และยังมีแหล่งน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมากประวัติ
*แต่เดิมลาวอยู่ใต้การปกครองอาณาจักรน่าน ต่อมาก็ตกอยู่ในการปกครองของสยามนานถึง 114 ปี จนเกิดวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 สยามต้องยกดินแดนลาวทั้งหมดให้เป็นของฝรั่งเศส
*ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นรุกเข้ามาในลาว ขบวนการลาวอิสระจึงได้ประกาศเอกราช
*เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ลาวจึงตกอยู่ในอำนาจฝรั่งเศสอีกครั้ง
*ฝรั่งเศสแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ.2496 โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์
*ต่อมาเมื่อเจ้าสว่างวัฒนาขึ้นครองราชย์ต่อ เจ้าสุภานุวงศ์ หนึ่งในขบวนการลาวอิสระประกาศตนเป็นพวกนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาวออกเคลื่อนไหวทางการเมือง
*พ.ศ.2518 พรรคปฏิวัติประชาชนลาว ที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ ยึดอำนาจรัฐบาลของเจ้าสว่างวัฒนาได้สำเร็จ และประกาศสถาปนา “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518

ที่มา :http://asean2556.blogspot.com/2013/02/blog-post_1755.html

ประเทศลาว ข้อมูลของประลาว

laos-flag2 laos-map

ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว

  • ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Lao People’s Democratic Republic
  • ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
  • เมืองหลวง : กรุงเวียงจันทน์
  • ภาษาราชการ : ภาษาลาว (Lao)
  • สกุลเงิน : กีบ (Kip, LAK)
  • พื้นที่ : 91,429 ตารางไมล์ (236,800 ตารางกิโลเมตร)
  • จำนวนประชากร : 6,695,166 คน
  • การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้บริหารสูงสุด
  • Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
  • GDP : 20,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รายได้ต่อหัวประชากร : 3,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +856

ลักษณะภูมิประเทศ

Laos Transportation
ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือเขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ

เขตที่ราบสูง คือ พื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)

เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา

ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)

16

ประเทศลาว มีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่น ๆ ยังได้แก่
– แม่น้ำอู (พงสาลี-หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
– แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
– แม่น้ำเซบั้งเหียง (สุวรรณเขต) ยาว 338 กิโลเมตร
– แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
– แม่น้ำเซกอง (สาระวัน-เซกอง-อัตปือ) ยาว 320 กิโลเมตร
– แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สุวรรณเขต) ยาว 239 กิโลเมตร
– แม่น้ำแบ่ง (อุดมไชย) ยาว 215 กิโลเมตร
– แม่น้ำเซโดน (สาระวัน-จำปาศักดิ์) ยาว 192 กิโลเมตร
– แม่น้ำเซละนอง (สุวรรณเขต) ยาว 115 กิโลเมตร
– แม่น้ำกะดิ่ง (บริคำไชย) ยาว 103 กิโลเมตร
– แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร

630729_kuang-si-waterfall_laos_vodopad_les_derevya_skalyi_1920x1280_www.Gde-Fon.com

ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณ

น้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 – 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันทน์และแขวงสุวรรณเขตในช่วง 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว

ที่มา : http://www.edtguide.com/th/laos/facts/detail-1