เศรษฐกิจของลาว

เศรษฐกิจของลาว

สถานภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 ประเทศลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี อาชีพหลักของชาวลาว คือเกษตรกร รวมถึงประมงและป่าไม้ รองลงมาคืองานบริการและอุตสาหกรรม

สินค้าเกษตร

ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว อ้อย กาแฟ

อุตสาหกรรมหลักในประเทศ

อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า เป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

สินค้านำเข้า ส่งออกอะไรเป็นหลัก

สินค้าส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาวได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ

สินค้านำเข้า
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค

ทรัพยากรที่สำคัญ

ไม้ ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ

เวียงจันทน์
เป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอน กลางของประเทศ มีพื้นที่ 3.9 พันตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย มีย่านไชน่าทาวน์ และห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นตลาดสินค้าจากไทย จีนและเวียดนามวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนกลาง

หลวงพระบาง
เป็นแขวงสำคัญทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 – 10 ชั่วโมงถนนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที มีประชากรประมาณ 4.2 แสนคน ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541 จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ซึ่ง ทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่งดงาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนเหนือ

สะหวันนะเขต
เป็นแขวงสำคัญทางภาคใต้ของประเทศมีพื้นที่ 21,774 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นแขวงที่ใหญ่อันดับ 2 ของสปป.ลาวอยู่ตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนและมีสะพานมิตรภาพ 2 เชื่อมโยงไทย-ลาว โดยมีเส้นทางหมายเลข 9 ที่สามารถเดินทางไป เมืองดองฮา และ ท่าเรือน้ำลึกดานังของ เวียดนาม ด้วยเหตุนี้แขวงสะหวันนะเขตจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการค้าและรวมไป ถึงการส่งสินค้าผ่านแดน ระหว่างเมืองเมาะลำไยของพม่ากับแขวงสะหวันนะเขตเพื่อผ่านไปท่าเรือน้ำลึก ดานังของเวียดนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 1,450 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม East-West Economic Corridor หรือ EWEC ภายใต้ กรอบพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ซึ่งเป็นทางบกที่สั้นที่สุดที่สามารถเชื่อมทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้

ที่มา : http://61.47.41.107/w/content/98/